รายละเอียด
ไคโตซาน จากเปลือกปูแดง ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น มีคุณสมบัติช่วยดักจับไขมัน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารเสริมที่มีสรรพคุณช่วยควบคุมน้ำหนักและลดปริมาณไขมันที่ร่างกายจะได้รับ นอกจากนี้ไคโตซานยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆเช่น การผลิตยา การเกษตร การผลิตเครื่องสำอาง และการบำบัดน้ำเสีย ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน JP-GTP (Japan Pharmacopoeia – General Test Procedure) และ JSFA-GTP (The Japanese Standards of Food Additives – General Test procedure) จึงปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค สามารถนำสินค้าขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ได้
Subject | Description |
Appearance | White or slightly yellowish Powder |
Viscosity (mPa.S) | < 15 mPa.S |
Solubility (1->100, 1% acetic acid) | Clear, light yellow or Slightly turbid |
Use / Dosage | N/A |
Applications | Food supplement, Beverage, Medicine, Agricultural, Cosmetic and Water treatment |
Special properties | Weight loss aid |
Fat blocker | |
Properties | Anti-cholestermic – ลดคลอเรสเตอรอล |
Reduces fat absorption – ลดการดูดซึมไขมัน | |
ฺBlocks excess fat calories – ลดไขมันส่วนเกิน | |
Weight control aid – ช่วยควบคุมน้ำหนัก | |
Weight loss aid – ช่วยลดน้ำหนัก | |
Others Name | Kytex, Chitopearl, Chitopharm, Flonac |
Storage | Keep closed, Dry, Dark and Cool place |
Shelf-Life | 24 months after manufacturing date |
Quality Assurance | Guarantee specification |
Safety Specification | Under FDA standard of Heavy metals and Microorganism controlling |
Product note | This product is food ingredient, not instant food |
Caution notice | Chitosan is taken from the outer skeleton of shellfish. There is a concern that people with allergies to shellfish might also be allergic to chitosan |
ไคโตซาน
ไคโตซานเป็นพอลิอะมิโนแซ็กคาไรด์ (polyaminosaccharide) ชีวภาพชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ ได้มาจากการสกัดไคติน (องค์ประกอบหลักของกระดองปู, เปลือกกุ้ง แกนปลาหมึก และผนังเซลล์ของเชื้อราบางชนิด เช่น aspergillus) การผลิตไคโตซานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปมักใช้กระดองปูและเปลือกกุ้ง ไคโตซานสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงนิยมใช้เป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสารให้ความชุ่มชื้นในเครื่องสำอาง และยังเป็นสารต้านจุลินทรีย์ หรือสารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์อีกด้วย ในการผลิตยาจึงใช้ไคโตซานเป็นสารตัวเติมในยาเม็ดเพื่อปรับปรุงวิธีการละลายของยาและเพื่อปกปิดรสขม นอกจากนี้ไคโตซานยังใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยใช้เป็นสารทำให้เป็นอิมัลชันและสารกันบูดในอาหาร
Asianbioplex ไคโตซาน ผลิตจากเปลือกปูแดง ผ่านกระบวนการผลิตคุณภาพสูงตามมาตรฐานในประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวละเอียด ใช้บรรจุแคปซูล อัดเม็ด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง การเกษตร และการแพทย์ อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารเสริมประเภทไคโตซาน ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อป้องกันร่างกายขาดวิตามินและสารอาหารบางชนิด เนื่องจากการออกฤทธิ์ต่อไขมันของไคโตซานจะส่งผลให้วิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมันและสารอาหารบางชนิดถูกรวมอยู่ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ร่ายการขาดวิตามินและสารอาหารเหล่านั้นได้
ประโยชน์ของไคโตซาน
- อาหารเสริม : ใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทช่วยควบคุมน้ำหนัก โดยไคโตซานจะเข้าไปดักจับไขมันในระบบทางเดินอาหาร และขับออกมาผ่านการขับถ่าย จึงช่วยลดปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับระหว่างการรับประทานอาหาร จากงานวิจัยพบว่าไคโตซานสามารถดูดซับไขมันได้ 4-6 เท่าของน้ำหนักตัว และยังพบว่าไคโตซาน มีความปลอดภัยต่อมนุษย์สูง และไม่พบอันตรายจากการใช้ ทั้งนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหน่วยงาน US Environmental Protection Agency ได้ให้การรับรองว่า ปราศจากสารพิษ และ สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
- ผลิตยา : ใช้ทำเม็ดเจลหรือแคปซูลยา เนื่องจากมีคุณสมบัติใสและยืดหยุ่น
- การเกษตร : ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อป้องกันความชื้น การเน่าเสียและการติดเชื้อ และยังสามารถผสมธาตุอาหารเพื่อเสริมการเจริญเติบโตของพืช
- เครื่องสำอาง : ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง เนื่องจากมีคุณสมบัติด้านการปกป้องผิวพรรณได้ดี โดยไคโตซานจะทำหน้าที่คล้ายแผ่นฟิล์มที่อุ้มน้ำได้ จึงนิยมนำมาผลิต ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ยาย้อมผม ยาเคลือบสีผม เป็นต้น
- สิ่งแวดล้อม : ไคโตซานยังสามารถนำไปใช้ดักจับไขมัน สี และโลหะหนักที่อยู่ในน้ำเสีย หรือดูดซึมสารพิษได้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
การทดสอบความบริสุทธิ์ของไคโตซาน
- ไคโตซานบริสุทธิ์นั้นจะต้องใส และไม่เหนียวหนืดเกินไป
- ภาชนะที่บรรจุไคโตซานจะต้องไม่มีลมออกมาเพราะหากมีลมออกมา ลมที่ออกมาคือการเน่าบูดของสารบางชนิดที่ปนเปื้อนอยู่ในไคโตซาน ซึ่งแสดงว่าไคโตซานไม่บริสุทธิ์
- ผสมน้ำยาล้างจานกับไคโตซานในสัดส่วนที่เท่ากัน หากเป็นไคโตซานบริสุทธิ์จะจับตัวกันเหมือนไข่ขาว แต่หากไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่จับตัวกัน
ข้อควรระวังในการใช้ไคโตซานเพื่อรับประทาน
- ไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้อาหารทะเล รวมทั้งเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรก็ไม่ควรรับประทานไคโตซาน และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีปัญหาการย่อยผิดปกติ
- ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ เนื่องจากวิตามินที่ละลายในไขมันได้อย่าง วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินอี และวิตามินเค รวมไปถึงไขมันที่มีประโยชน์ ก็จะถูกไคโตซานดักจับไปด้วย จึงควรรับประทานไคโตซานเมื่อจำเป็นและเสริมด้วยอาหารที่มีวิตามินดังกล่าวและกรดไขมันที่จำเป็นเพิ่มขึ้นด้วย
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์